Sisu—อ่านว่า ซิสุ
เวลาพูดถึงฟินแลนด์ เราน่าจะนึกถึงอากาศหนาวเหน็บตลอดทั้งปี ระบบการศึกษาที่เป็นที่ต้นแบบให้คนทั่วโลกสนใจติดตาม หรือสินค้าทางวัฒนธรรมอย่างมารีเมกโกะ (Marimekko) และตัวการ์ตูนที่เป็นที่รักอย่างมูมิน (Moomin)
คุณกัตเทีย พันต์ซาร์ แกพยายามศึกษาค้นคว้าหาดีเอ็นเอของชาวฟินน์ที่ว่ากันว่ามีเอกลักษณ์บางอย่างไม่ซ้ำใคร ซึ่งก็คือแนวคิดที่สนับสนุนให้คน ลงมือทำ ตั้งแต่เรื่องธรรมดาทั่วไปในชีวิตประจำวันอย่างประกอบเฟอร์นิเจอร์หรือทาสีรั้วบ้านด้วยตัวเอง ไปจนถึงการผลักตัวเองให้ใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติอย่างการขี่จักรยานไปทำงาน ไปเดินเล่นในป่า หรือกิจกรรมน่าช็อกอย่าง Winter Swimming–การลงไปแช่/แหวกว่ายในทะเลในวันที่อุณหภูมิติดลบ
ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่าเขาใช้การอาบน้ำเย็นเป็นเทคนิคสร้างความแข็งแกร่งของจิตใจ
การศึกษาของคุณกัตเทียชวนให้เพลิดเพลินไปกับวิถีชีวิตอีกแบบที่ชาวเขตร้อนอย่างเราอาจนึกภาพไม่ออก แต่วิถีที่แตกต่างเหล่านั้นกลับกระตุ้นให้เรารู้สึกกล้าเผชิญหน้ากับเรื่องง่ายๆ ที่อยู่ตรงหน้าโดยไม่รู้ตัว เป็นความกล้าหาญแบบเดียวกับคนชอบการผจญภัย
วิธีคิดที่ผลักให้คนออกไปอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติแทบจะกลายเป็นชีวิตประจำวันของชาวฟินน์ อาจารย์นักวิจัยคนหนึ่งที่ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างความอยู่ดีมีสุข ธรรมชาติ และกิจกรรมสันทนาการกลางแจ้งมาตลอดชีวิตบอกว่า การเดินป่าเพียง 15 นาที สามารถช่วยลดความเครียด ความดัน และผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึง
อาจารย์เล่าว่าเคยมีนักข่าวรุ่นใหม่คนนึงถามแกว่า ควรทำกิจกรรมอะไรกับเด็กๆ ในป่า แกตอบว่า “คุณไม่ต้องทำอะไรเลย เวลาคุณพาเด็กๆ เข้าป่า พวกเขาจะไม่มีปัญหาในการคิดว่าจะทำอะไรดี เขาจะเล่นสนุกอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆ คุณไม่ต้องสร้างสนามเด็กเล่นที่มีเครื่องเล่นพร้อมบอกวิธีใช้ ป่าเป็นสถานที่ที่เหมาะกับการพัฒนาทักษะของกล้ามเนื้อและความคิดสร้างสรรค์ แล้วยังทำให้เด็กๆ ได้สัมผัสจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้เขา”
กลับเป็นผู้ใหญ่เสียเองที่กลัวไปหมดทุกสิ่งอย่าง
ถ้าแปลตรงตัว ซิสุ จะหมายถึงลำไส้ (guts) แต่ในภาษาฟินน์ก็คือ สิ่งที่อยู่ข้างใน ซึ่งก็คือความแข็งแกร่งทางความคิดที่แสดงออกทางร่างกาย ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายในกรอบคิดของการลงมือ (action mindset)
อยากชวนมานั่งๆ นอนๆ อ่าน Finding Sisu ที่ bulbul กัน ห้องสมุดเราห้อมล้อมด้วยต้นไม้น่าดู ; )
read by PJ